3/10/2554

ตำราและสไลด์การเขียนโปรแกรมภาษาจาวาเบื้องต้น

ความรู้เบื้องต้นภาษาจาวา

เนื้อหาในบทนี้เป็นการแนะนำภาษาจาวา โดยจะเริ่มจากการแนะนำหลักการของภาษาคอมพิวเตอร์โดยทั่วๆ ไป ประวัติความเป็นมาโดยย่อของภาษาจาวา ข้อแตกต่างของภาษาจาวากับภาษาคอมพิวเตอร์อื่นๆ หลักการการทำงานของโปรแกรมภาษาจาวา และความหมายของเครื่องจักรสมมุติที่ใช้ในภาษาจาวา พร้อมทั้งแนะนำเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มต่างๆ ของภาษาจาวา แนะนำตัวอย่างการเขียนโปรแกรมจาวาประยุกต์และโปรแกรมจาวา แอปเพล็ต และในส่วนท้ายของบทได้มีการแนะนำวิธีการใช้คู่มือ Java API

ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารที่เป็นไฟล์ PDF ได้ที่นี่ =>Chapter1.pdf

สำหรับ slide ประกอบการบรรยายสามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ => Slide.pdf


พื้นฐานโปรแกรมภาษาจาวา


เนื้อหาในบทนี้เป็นการแนะนำไวยากรณ์ของภาษาจาวา ซึ่งประกอบไปด้วยสัญลักษณ์หรือคำต่างๆ ที่ใช้ในภาษาจาวา ชนิดข้อมูลแบบพื้นฐาน และข้อมูลค่าคงที่ การประกาศและเรียกใช้คำสั่งกำหนดค่าตัวแปร นิพจน์และตัวดำเนินการประเภทต่างๆ วิธีการแปลงชนิดข้อมูล ชนิดข้อมูลแบบอ้างอิง และแนะนำคำสั่งที่ใช้ในการรับข้อมูลเข้าและแสดงผล ซึ่งเนื้อหาในบทนี้จะเป็นการแนะนำการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นเพื่อกำหนดค่าข้อมูลต่างๆ และแสดงผลลัพธ์ของการประมวลผล


ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารที่เป็นไฟล์ PDF ได้ที่นี่ =>Chapter2.pdf

สำหรับ slide ประกอบการบรรยายสามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ => Slide.pdf


โครงสร้างควบคุม


เนื้อหาในบทนี้เป็นการแนะนำคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างควบคุมในภาษาจาวา ซึ่งเป็นการควบคุมลำดับการทำงานของคำสั่งต่างๆ ในโปรแกรมภาษาจาวา โดยจะกล่าวถึงคำสั่งโครงสร้างควบคุมสองประเภทคือ คำสั่งโครงสร้างแบบเลือกทำซึ่งได้แก่คำสั่ง if,if..else และ switch และคำสั่งโครงสร้างแบบทำซ้ำซึ่งได้แก่คำสั่ง while, do..while และ for และในตอนท้ายของบทนี้จะกล่าวถึงคำสั่งโครงสร้างควบคุมแบบซ้อน


สำหรับ slide ประกอบการบรรยายสามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ => Slide.pdf

ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารที่เป็นไฟล์ PDF ได้ที่นี่ =>Chapter3.pdf


หลักการเชิงอ็อบเจกต์


เนื้อหาในบทนี้เป็นการแนะนำหลักการการพัฒนาโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์ อธิบายความ หมายของคำนิยามต่างๆ ที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์เช่น คลาส อ็อบเจกต์ คุณลักษณะ และเมธอด แนะนำการประกาศ คำนิยามดังกล่าวโดยใช้ภาษาจาวา อธิบายคุณลักษณะเด่นของโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์ แนะนำคลาสที่ใช้ในการจำลองข้อกำหนดของโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์ และในส่วนท้ายของบทจะเป็นการแนะนำขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมโดยใช้หลักการเชิงอ็อบเจกต์


ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารที่เป็นไฟล์ PDF ได้ที่นี่ =>Chapter4.pdf

สำหรับ slide ประกอบการบรรยายสามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ => Slide.pdf


การสร้างส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้


เนื้อหาในบทนี้เป็นการแนะนำการเขียนโปรแกรมจาวาประยุกต์ที่มีส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ โดยจะเป็นการแนะนำคลาสและอินเตอร์เฟสที่สำคัญในแพคเก็จ javax.swing อธิบายคลาสประเภท Container และคลาสที่เป็นส่วนประกอบกราฟิกอื่นๆ แนะนำการจัดวางส่วนประกอบกราฟิกโดยใช้อ็อบเจกต์ประเภท LayoutManager และอธิบายการสร้างเมนู


ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารที่เป็นไฟล์ PDF ได้ที่นี่ =>Chapter5.pdf

สำหรับ slide ประกอบการบรรยายสามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ => Slide.pdf


การเขียนโปรแกรมภาษาจาวาเชิงอ็อบเจกต์

เนื้อหาในบทที่ผ่านมาเป็นการแนะนำการใช้คำสั่งเบื้องต้นต่างๆ ในภาษาจาวา โดยการเขียนโปรแกรมใน ตัวอย่างที่ผ่านมาส่วนใหญ่ เป็นการเขียนโปรแกรมภาษาจาวาโดยใช้หลักการเชิงกระบวนการ เนื้อหาในบทนี้จะเป็นการแนะนำการเขียนโปรแกรมภาษาจาวาเชิงอ็อบเจกต์ โดยแนะนำการใช้เมธอด การใช้ constructor การเขียนโปรแกรมโดยใช้คุณลักษณะเด่นของโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์ อาทิเช่น การห่อหุ้ม การสืบทอด และการมีได้หลาย รูปแบบ เป็นต้น จากนั้นจะเป็นการแนะนำคลาสภายใน Generic Type และ Annotation


ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารที่เป็นไฟล์ PDF ได้ที่นี่ =>Chapter6.pdf

สำหรับ slide ประกอบการบรรยายสามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ => Slide.pdf


การจัดการกับเหตุการณ์กราฟิก

เนื้อหาในบทนี้เป็นการแนะนำวิธีการเขียนโปรแกรม เพื่อจัดการกับเหตุการณ์กราฟิกในโปรแกรม GUI โดยจะเริ่มต้นจากการแนะนำนิยามความหมายของเหตุการณ์ แนะนำคลาสประเภท Event ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์กราฟิกต่างๆ แนะนำอินเตอร์เฟสประเภท Listener ที่ใช้ในการรับฟังเหตุการณ์ อธิบายวิธีการจัดการกับเหตุการณ์กราฟิกหลายๆ เหตุการณ์ และตอนท้ายของบทเป็นการแนะนำคลาสประเภท Event Adapter


ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารที่เป็นไฟล์ PDF ได้ที่นี่ =>Chapter7.pdf

สำหรับ slide ประกอบการบรรยายสามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ => Slide.pdf


อะเรย์และคอลเล็กชั่น


เนื้อหาในบทนี้เป็นการแนะนำการใช้อะเรย์ของข้อมูลชนิดพื้นฐาน และชนิดคลาส อธิบายการประกาศและสร้างอะเรย์หลายมิติ แนะนำเมธอดที่เกี่ยวข้องกับอะเรย์ อธิบายความหมายของคอลเล็กชั่น แนะนำอินเตอร์เฟสและคลาสต่างๆ ที่อยู่ใน Collection API และการนำไปใช้งาน


ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารที่เป็นไฟล์ PDF ได้ที่นี่ =>Chapter8.pdf

สำหรับ slide ประกอบการบรรยายสามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ => Slide.pdf


การจัดการกับข้อผิดพลาด


เนื้อหาในบทนี้ เป็นการแนะนำหลักการของการจัดการกับข้อผิดพลาดในภาษาจาวา แนะนำคลาสที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกับข้อผิดพลาดที่กำหนดไว้ใน Java API อธิบายคำสั่งที่ใช้ในการจัดการกับข้อผิดพลาดคือคำสั่ง try, catch และ finally อธิบายกฎการจัดการกับข้อผิดพลาด และตอนท้ายของบทจะเป็นการแนะนำการสร้างคลาสประเภทข้อผิดพลาดขึ้นมาใหม่


ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารที่เป็นไฟล์ PDF ได้ที่นี่ =>Chapter9.pdf

สำหรับ slide ประกอบการบรรยายสามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ => Slide.pdf


คลาสอินพุตและเอาต์พุต


เนื้อหาในบทนี้เป็นการแนะนำคลาสและเมธอดต่างๆ ที่เกี่ยวกับอินพุตและเอาต์พุต และอธิบายความหมายของ stream โดยอธิบายคลาสที่เกี่ยวข้องกับอินพุตและเอาต์พุตที่อยู่ในแพคเก็จ java.io แนะนำคลาส InputStream, OutputStream, Reader และ Writer อธิบายการสร้างและใช้ stream แบบต่างๆ แนะนำคลาสและเมธอดของคลาส File และ RandomAccessFile อธิบายการใช้อินเตอร์เฟสที่ชื่อ Serializable และอธิบายวิธีการเขียนและอ่านข้อมูลของอ็อบเจกต์ผ่าน stream


ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารที่เป็นไฟล์ PDF ได้ที่นี่ =>Chapter10.pdf

สำหรับ slide ประกอบการบรรยายสามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ => Slide.pdf


ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thaijavadev.com/index.php?option=com_content&view=article&id=168:-1-&catid=62&Itemid=30

1 ความคิดเห็น: